Tiger Mom
เคยได้ยินคำว่า “Tiger Mom” มั้ย
เพิ่งได้ยินคำนี้คืนนี้เหมือนกัน ถ้าแปลตามคำศัพท์น่าจะหมายถึง
“แม่เสือ” ตอนที่ได้ยินก็สงสัยว่าหมายถึงอะไร
ตามความหมายที่เรียกว่า Tiger Mom
or Tiger Dad นั้นจะหมายถึง(โดยเฉพาะ)พ่อแม่ชาวเอเชียหรือเชื้อสายเอเชียที่อยู่ในอเมริกา
ที่เข้มงวดกวดขันกับลูกๆ เพื่อให้ลูกได้ดี ดังที่ตั้งใจไว้
เป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ วงศ์ตระกูล
ช่วงที่เรียนอยู่ ได้เรียนรู้อย่างนึงว่าคนเอเชียที่เรียกว่า Asian
American มีลักษณะอย่างหนึ่งที่คล้ายกันคือ ให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาของลูก
พยายามส่งเสียให้ลูกเรียนโรงเรียนดีๆ ดังๆ ส่งเสริมให้ลูกเป็นคนเก่ง เช่น
เป็นนักกีฬาประเภทต่างๆ
ดังนั้นเราจึงเห็นนักกีฬาที่หน้าตาบ่งบอกเชื้อลายเอเชีย
แต่เป็นนักกีฬาของอเมริกัน ที่รู้จักกันดีก็น่าจะเป็น มิเชล ควาน, เหย่า หมิง หรือคนล่าสุดที่กระแสแรงมาก
เจเรอมี หลิน (พยายามออกเสียงให้คุ้นหูคนไทย)
เพื่อนหลายคนที่ค่อนข้างจะสนิทกันเพราะพักอยู่ในอาคารเดียวกันมีทั้งเวียดนาม
เกาหลี อินเดีย เป็นกลุ่มที่เรียนในโรงเรียนทางด้าน Health Sciences มากที่สุด (เฉพาะมหาวิทยาลัยเรานะ
ที่อื่นอาจต่างกันไป) มีทั้งโรงเรียนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชฯ และอื่นๆ แอนดี้เพื่อนนักศึกษาทันตแพทย์เชื้อสายเวียดนาม
เล่าให้ฟังว่าส่วนใหญ่นักศึกษาที่เรียนโรงเรียนทันตแพทย์
จะมีเชื้อสายเอเชียเยอะมาก เกาหลี เวียดนาม เยอะที่สุด
ส่วนอินเดียนั้นจะเรียนที่โรงเรียนเภสัชฯ มากกว่า นี่หมายความรวมถึงปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษานะ
เป็นค่านิยมของคนเชื้อสายเอเชียที่คนอเมริกันก็ทราบว่า
พ่อแม่ชาวเอเชียเข้มงวดกับลูกมากแค่ไหน (ไม่รู้แอบอิจฉาเล็กๆ
ด้วยมั้ย) แต่ทั้งหมดก็ได้ผลคุ้มค่าการลงทุน (น้อยมากที่จะเห็นคนเอเชียตกงานในอเมริกานะ
เพราะส่วนใหญ่จะขยันไม่ย่อท้อ หนักเอาเบาสู้)
หลายๆ คนที่มีลูกคงจะคาดหวังกับลูกมากเหมือนกัน ไม่มีลูกเลยไม่ต้องวางแผนเข้มงวดกับลูก เพื่อนๆ บางคนอาจจะมี Tiger Mom และ/หรือ Tiger
Dad หรือบางคนตอนนี้อาจจะเป็น Tiger Mom หรือ Tiger
Dad อยู่ก็ได้
การพยายามพัฒนาลูกให้เป็นตามธรรมชาติหรือจริตของลูกน่าจะดีที่สุด หลายๆ คนคาดหวังกับลูกมาก
เพลาๆ ลงบ้าง ลูกๆ
น่ะแบกรับความคาดหวังพ่อแม่ไว้ในใจทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว เล่าได้ในฐานะที่เป็นลูก ถึงเป็นลูกเราเหมือนกันแต่สติปัญญา ความชอบ ความถนัดอาจไม่เหมือนกัน
(individual difference) บางครั้งความเครียดในเด็กสามารถแสดงออกทางกายได้ ทางจิตเวชเรียกโรคนี้ว่าเป็น
Psychosomatic Disorder ลองสังเกตดูนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น